สรุปยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา ๑ วิสัยทัศน์การพัฒนา “การคมนาคมสะดวก เศรษฐกิจก้าวหน้า ร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม บนพื้นฐานการอยู่ดีมีสุขของประชาชน”
๒ พันธกิจ ๑. ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคให้ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนและเศรษฐกิจของท้องถิ่น ๒. ส่งเสริมและพัฒนาระบบการศึกษาและสาธารณสุขเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนพร้อมทั้งอนุรักษ์และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาอันดีงามภายในท้องถิ่น ๓. ส่งเสริมและสนับสนุนการประชกอบอาชีพและการรวมกลุ่มอาชีพของประชาชน โดยเฉพาะ ด้านการเกษตรกรรมให้มีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้ ๔. ควบคุมและกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและมลภาวะต่าง ๆ รวมถึงมีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ๕. ปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายในองค์กร โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เน้นการมีส่วนร่วมและความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลกับประชาชน เอกชน ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรให้พร้อมรองรับการถ่ายโอนอำนาจหน้าที่จากหน่วยงานส่วนกลาง
๓ จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา ๑. การได้รับบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานให้มีความสะดวกและเสมอภาค ๒. มลภาวะและสิ่งแวดล้อมไม่เป็นมลพิษให้บ้านเรือนและชุมชนน่าอยู่อย่างสงบสุข ๓. ประชาชนมีศักยภาพ มีความรู้มีรายได้เพียงพอสามารถพึ่งตนเองได้ ๔. การบริหารจัดการภาครัฐที่ดีแบบบูรณาการและมีส่วนร่วม ๕. ยกระดับและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประชาชน ๖. เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและสร้างความตะหนักถึงภูมิปัญญาอันดีงามของชุมชน ๗. สนับสนุนประชาชนให้มีสุขภาพอนามัยดีถ้วนหน้า ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิตและสุขอนามัยภายในชุมชน ๘. เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขอย่างครบวงจร
๔ยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปี ๑. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน แนวทางการพัฒนา ๑.๑ ก่อสร้างและปรับปรุงเส้นทางคมนาคม ทั้งทางบกทางน้ำ ๑.๒ ขยายเขตไฟฟ้าพื้นฐาน ๑.๓ ขยายเขตประปา ก่อสร้างประปา โทรศัพท์ ๑.๔ การพัฒนารับรู้ข้อมูลข่าวสาร ประกาศ กิจการงานต่าง ๆ ของหน่วยงานรัฐ ๑.๕ ก่อสร้างและพัฒนาระบบป้องกันภัยธรรมชาติ ๒. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตและคุณภาพผลผลิตสินค้า แนวทางการพัฒนา ๒.๑ ส่งเสริมการสาธารณสุข และการบริการสุขภาพอย่างทั่วถึง ๒.๒ การสงเคราะห์เด็ก สตรี คนชรา คนพิการ และประชาชนผู้ด้อยโอกาส ๒.๓ จัดการศึกษา และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่บูรณาการให้ผสมกลมกลืนกับท้องถิ่น ๒.๔ การพัฒนาและส่งเสริมการศึกษา กีฬาทุกระดับ ๓. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดการชุมชน / สังคม และมั่นคงปลอดภัย แนวทางการพัฒนา ๓.๑ เสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว ชุมชนและสังคม ๓.๒ จัดระบบการรักษาความสงบเรียบร้อยและป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ๔. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน แนวทางการพัฒนา ๔.๑ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง (บำบัดน้ำเสียการกำจัดขยะมูลฝอย) ๔.๒ ปลูกจิตสำนึก อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
๕. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสาธารณสุข แนวทางการพัฒนา ๕.๑ พัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน ๕.๒ ปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ๖. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านศาสนา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น แนวทางการพัฒนา ๖.๑ ส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ๖.๒ พัฒนาและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นและกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญต่าง ๆ ๗. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเมือง การบริหารจัดการที่ดี แนวทางการพัฒนา ๗.๑ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีในการบริหารงาน ๗.๒ การส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพบุคลากรของท้องถิ่นทุกระดับ ๗.๓ การพัฒนาระบบงานสารสนเทศเชื่อมโยงระบบโครงข่าย ๕. กรอบยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสงขลา “จังหวัดสงขลาเป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้า การศึกษา การบริการสาธารณะ บนพื้นฐานคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน” ยุทธศาสตร์ที่ ๑พัฒนาภาคการเกษตร การค้า การลงทุน และการบริการ สู่ความมั่นคงทาง เศรษฐกิจ เป้าประสงค์ ๑. ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้มาตรฐานการส่งออก ๒. อุตสาหกรรมมีระบบการผลิตที่ยั่งยืนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน ๓. มูลค่าการค้า การลงทุน เพิ่มขึ้น ๔. ระบบเครือข่ายคมนาคมได้รับการพัฒนาให้รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ กลยุทธ์หลัก ๑. ส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรให้ได้มาตรฐาน ๒. ส่งเสริมการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร ๓. ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร ๔. พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ๕. พัฒนาตลาดและระบบตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ครัวเรือน/ชุมชนที่สำคัญ ๖. ส่งเสริมการผลิตภาคครัวเรือน/ ชุมชนสู่ภาคอุตสาหกรรม ๗. สร้างมูลค่าเพิ่มและการจัดการด้านตลาดสินค้าเกษตร ๘. ส่งเสริมการผลิตของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้รับมาตรฐาน
๙. สร้างและส่งเสริมบรรยากาศในการค้า การลงทุน ๑๐. อำนวยความสะดวกเรื่องการค้าและการลงทุน ๑๑. ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะสมกับการลงทุน (นิคมอุตสาหกรรม ถนนมอเตอร์เวย์ ท่าเรือขนาดเล็กท่าเรือน้ำลึก อุตสาหกรรมพลังงานฯลฯ) ๑๒. พัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ๑๓. สร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคีเพื่อเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ตามแผนงานการพัฒนา IMT-GT ๑๔. ส่งเสริมการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการให้สามารถผลิตและแข่งขันได้ ๑๕. ส่งเสริมการบูรณาการร่วมกับแผนผนึกความร่วมมือภาครัฐภาคเอกชน และภาคประชาชนเพื่อ พัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดสงขลา ยุทธศาสตร์ที่ ๒ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวที่หลากหลาย และเชื่อมโยงสู่ภูมิภาคอื่น เป้าประสงค์ ๑. การท่องเที่ยวจังหวัดสงขลามีภาพลักษณ์ที่ดี นักท่องเที่ยวเชื่อมั่นและประทับใจ ๒. แหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยวและบุคลากรด้านการท่องเที่ยวได้รับการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น ๓. สิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานทางด้านการท่องเที่ยวได้รับการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น กลยุทธ์หลัก ๑. ส่งเสริมด้านการประชาสัมพันธ์การตลาดเชิงรุก และสินค้าการท่องเที่ยวใหม่ ๆ ๒. ส่งเสริมงานกิจกรรม และประเพณี ๓. พัฒนาระบบการสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยว ๔. เพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรด้านการท่องเที่ยว ๕. พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกก้านการท่องเที่ยว ยุทธศาสตร์ที่ ๓พัฒนาให้เป็นเมืองน่าอยู่ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี วัฒนธรรมหลากหลาย เป้าประสงค์ ๑. สงขลาเป็นเมืองสุขภาวะที่ดีประชาชนมีความสุข ๒. สงขลาเป็นเมืองสงบมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ๓. ครอบครัวอบอุ่นและมีภูมิคุ้มกันทางสังคมทันต่อการเปลี่ยนแปลง ๔. วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟู และสืบทอด ให้เป็นทุนทางสังคมอย่าง ยั่งยืน &nb |
|