ทำอย่างไรเด็กของเราจึงจะไม่หันมาใช้ยาเสพติดอย่างนี้ ความใกล้ชิดในครอบครัวนี่แหละคือภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดในเรื่องปัญหายาเสพติด ความเอาใจใส่กับลูกไม่ได้เริ่มที่วัยรุ่น จริงๆ แล้ว เราเอาใจใส่รักใคร่กับเขามาโดยตลอด ความผูกพันอย่างนี้ ทำให้เด็กรับรู้และเข้าใจตระหนักดีว่า การหันเข้าไปหายาเสพติดทำให้ครอบครัวของเขาเกิดปัญหาขึ้น เขาจึงมีแรงยึดเหนี่ยวจากความรักความเอาใจใส่จากครอบครัว ทำให้ไม่หันเข้าไปหายาเสพติด
การพูดคุยกับลูกวัยรุ่นก็เป็นเรื่องจำเป็น แต่ว่าจะพูดอย่างไรจึงจะพอเหมาะ ด้วยความกังวลใจ คุณพ่อคุณแม่อาจจะเข้าไปวุ่นวายกับชีวิตเขามากขึ้น เข้าไปควบคุมเขา เข้าไปกำกับดูแล เข้าไปดูว่าเขาคุยโทรศัพท์กับใคร ในกระเป๋าเขามีอะไรบ้าง เข้าไปค้นในห้องนอนของเขา ลักษณะเช่นนี้ต้องระวังในเด็กวัยรุ่น เขาไม่ชอบให้เราเข้าไปวุ่นวายกับชีวิตของเขา การใช้วิธีพูดคุยกันในทำนองของการไถ่ถามถึงเรื่องราวทั่วๆ ไป เปิดโอกาสให้เขาปรึกษาหารือ พร้อมที่จะรับฟังเขา จะทำให้ความรู้สึกต่อต้านของเด็กลดลง เมื่อเขาเห็นว่าเราวางใจเขา ก็จะยินดีให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาว่าเวลานี้ เขาคิดอย่างไร เขารู้สึกอย่างไร คุณพ่อคุณแม่อาจลองถามไถ่ต่อไปว่า มีบ้างไหม เขาบังเอิญเข้าไปใกล้ชิดกับปัญหาเรื่องยาเสพติด เขาคิดว่าเขาจะป้องกันตัวเองอย่างไร ถ้าเราพูดกับลูกอย่างนี้ เราจะได้แนวคิดว่าจริงๆ แล้วลูกเรามีความพร้อมในเรื่องการดูแลตัวเองจากยาเสพติดไหม ถ้าเขามีแนวคิดที่ดีอยู่แล้ว เขาป้องกันตัวเองอยู่แล้ว เราก็ให้เพียงแค่การสนับสนุน ชื่นชมเขา หรืออาจเสนอข้อมูลที่เราได้รับรู้มาใหม่ๆ เพื่อเขาจะได้ระมัดระวังตัวเขาเองมากขึ้น
อีกประการหนึ่ง คือเรื่องการสังเกตพฤติกรรม โดยเมื่อเริ่มมีปัญหาแล้วเรารีบเข้าไปแก้ปัญหาโดยเร็ว ก็ย่อมจะดีกว่าปล่อยให้เขาติดยาเสพติดจนเรื้อรังจนแก้ไขได้ยาก การสังเกตพฤติกรรมช่วงแรกๆ จะพบว่าเด็กเริ่มมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอารมณ์หงุดหงิดและก้าวร้าว เด็กบางคนอาจเก็บตัวมากขึ้น หรือมีพฤติกรรมที่แอบซ่อน เพราะว่าเขาคงไม่อยากเปิดเผยถึงการใช้ยาของเขาให้เราทราบ ถ้าเขามีปัญหาของการแอบซ่อนอย่าใช้วิธีค้นอย่างที่ว่า เพราะยิ่งหาเด็กก็ยิ่งพยายามซ่อน ระยะนี้อาจเพียงแต่เฝ้ามองพฤติกรรมอยู่ห่างๆ ดูซิว่าลูกเริ่มโกหก ลูกเริ่มแสดงพฤติกรรมหลอกลวงหรือเปล่า แล้วก็ดูด้านอื่นร่วมกันด้วย เช่น เรื่องการเรียน คุณพ่อคุณแม่อาจจะประสานกับคุณครูที่ดูแลลูกว่าขณะนี้ลูกมีปัญ